อุดฟันเพื่อรักษาฟันผุ หรือฟันแตก
*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล
โรคเกี่ยวกับช่องปาก หรือเกี่ยวกับฟันส่วนใหญ่ที่มักจะได้ยินก็คือ โรคฟันผุ เรียกว่าผุกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ แม้กระทั่งตอนโตก็ยังมีคนฟันผุ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีก็คือการอุดฟันนั่นเอง ซึ่งการรักษาฟันผุ เป็นการอุดฟันเพื่อป้องกันมิให้ฟันที่ผุลุกลามต่อไป และยังเป็นการบูรณะฟันให้กลับมามีความสวยงามอีกครั้ง ทำให้สามารถที่จะทำหน้าที่บดเคี้ยวอา หารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากบอกว่าคุณเป็นคนที่มีปัญหาฟันผุเหมือนกัน นั่นอาจหมายถึงร่างกายของคุณกำลังฟ้องว่าคุณกำลังละเลยการดูแลสุขภาพฟันนั่นเอง
ข้อพิจารณาก่อนทำการอุดฟัน
ทันตแพทย์จะสามารถทำการรักษาฟันผุได้ด้วยการอุดฟันให้ผู้ป่วย โดยมีข้อพิจารณาโดยทั่วไป คือ ฟันซี่ที่ผุจะต้องไม่ลุกลามเข้าไปในโพรงประสาทฟัน และฟันนั้นจะต้องมีส่วนที่เหลือเพียงพอต่อการยึดของวัสดุที่ใช้ในการอุด นอกจากนี้ สภาพเหงือกบริเวณฟันซี่ที่จะอุดก็ควรอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งในบางกรณีทันตแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำการขูดหินปูนก่อนที่จะทำการอุดฟัน
ขั้นตอนการอุดฟัน
ขั้นตอนการอุดฟันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะทันตแพทย์จะทำการกรอเนื้อฟันที่ผุซึ่งอาจจะมีการติดเชื้อออก เนื้อฟันที่ผุจะมีลักษณะ นิ่ม และยุ่ย ส่วนสีของเนื้อฟันนั้นอาจมีการเปลี่ยนสีหรือไม่เปลี่ยนก็ได้ แต่เมื่อทำการกรอเนื้อฟันส่วนที่ผุออกแล้ว หากมีฟันผุลึกเข้าไปถึงชั้นในของเนื้อฟัน หรือที่เรียกว่าชั้นเนื้อฟันนั้น ทางทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุรองพื้น ซึ่งวัสดุดังกล่าวจะช่วยลดการเสียวฟัน เพราะเมื่อใส่วัสดุรองพื้นแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันต่อด้วยวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ซึ่งอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยแตกต่างกันตามสภาพฟันของผู้ที่มาอุดฟัน หากขณะอุดฟันผู้ท่ารักษามีอาการเสียวหรือเจ็บ ปวดขึ้นใช้เมา ทางทันตแพทย์อาจใช้ยาชาเข้าช่วยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเหมือนกันทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งอาจจะยังมีข้อจำกัดอยู่ อย่างผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะ สมเป็นกรณีไป
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันแบ่งเป็นวัสดุที่มีสีคล้ายฟัน สำหรับใช้ในการอุดฟันหน้า ในปัจจุบันความต้องการด้านความสวยงามของผู้ป่วยมีมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาให้สามารถอุดฟันกรามหลังได้ แต่ในบางกรณีตัวอย่างของวัสดุที่ใช้สำรับทำการอุดฟัน คือ Resin Composite หรือ Glass ionomer Cement ส่วนอีกหนึ่งชนิดคือ วัสดุที่มีสีคล้ายโลหะ ใช้ในการอุดฟันหลังจากที่จะต้องรับแรงในการบดเคี้ยว ตัวอย่างของวัสดุประเภทนี้คือ Amalgam ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาประเภทของวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
สิ่งที่ควรปฏิบัติภายหลังการอุดฟัน
หากคุณได้รับการอุดฟันโดยวัสดุที่เรียกว่า Amalgam ไม่ควรเคี้ยวอาหารใดๆ ในด้านที่อุดฟันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะวัสดุยังมีความแข็งแรงไม่เต็มที่ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง และควรกลับมาให้ทันตแพทย์ขัดแต่งวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันอีกครั้ง ส่วนผู้ที่มาอุดฟันหน้าก็ไม่ควรใช้ฟันหน้าเคี้ยวอาหารที่แข็ง เพราะจะทำให้วัสดุที่อุดแตกได้ และการแตกของวัสดุอาจลุกลามไปถึงเนื้อฟันส่วนที่ดีได้ ใครที่มีฟันผุลึกหรือผู้ที่ได้รับการอุดฟันอาจจะมีการเสียวฟันหลังจากการอุดฟัน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จำทำการงดอาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัด โดยปกติแล้วอาการเสียวฟันจะลดลง
คลินิกทันตกรรมอุดมสุข สกายเทรน
: 3983-3985 ซอยสุขุมวิท 103 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข)
: 02-0013500
: 088-3293456
: www.udomsukskytraindental.com
: info@udomsukskytraindental.com
: fb.com/udomsukskytrain
Line : @Udomsukskydental