ครอบฟัน และขั้นตอนในการรักษา

dental15

*ผลลัพธ์ในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน


ครอบฟันเป็นการบูรณะฟันซี่ที่ได้รับความเสียหายหรือเกิดการแตกหัก อันเนื่องมาจากการสบฟันหรือเป็นไปตามกาลเวลา รวมถึงฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน หรือฟันที่มีรูผุขนาดใหญ่ การครอบฟันจะทำให้ฟันมีความแข็งแรงและกลับมีประสิทธิภาพใช้งานได้ดังเดิม  วัสดุที่ใช้ในการครอบฟันที่ทำจากเซรามิก จะมีสีใกล้เคียงฟันจริงมาก จึงทำให้แทบสังเกตไม่เห็นว่าคุณไปทำครอบฟันมา

ใครควรได้รับการครอบฟัน

ผู้ที่เหมาะจะได้รับการครอบฟัน ได้แก่ ผู้ที่มีฟันหักบริเวณปลายฟัน ผู้ที่มีรูผุของฟันขนาดใหญ่ หรือคนที่มีการอุดฟันขนาดใหญ่ไว้แล้วและมีการอุดมานานแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การครอบฟันในคนที่มีรอยอุดฟันที่มีการใช้งานนาน

คนที่มีรอยอุดฟันที่มีการใช้งานมานาน ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป โครงสร้างของฟันจะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และถ้าหากมีรูผุเพิ่มขึ้น การอุดฟันแบบทั่วไปอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ การครอบฟันจึงเป็นวิธีที่ดีกว่า

  • การครอบฟันในคนที่มีรูผุขนาดลึกและใหญ่

ซึ่งคนที่มีรูผุขนาดลึกและใหญ่ จะทำให้โครงสร้างของฟันอ่อนแอ จึงไม่สามารถอุดฟันแบบธรรมดาได้ ทันตแพทย์จะใช้วิธีการครอบฟันแทน เพื่อรักษาโครงสร้างของฟันเดิมไว้

  • การครอบฟันในกรณีฟันร้าวหรือฟันที่แตกหัก

หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับฟันของคุณจนได้รับความเสียหายแตกหักการครอบฟันจะเป็นวิธีที่เหมาะสม เนื่องจากกรณีแบบนี้ไม่สามารถใช้วิธีการอุดฟันได้ เพราะโครงสร้างของฟันอ่อนแอเกินไป การครอบฟันจะช่วยให้ฟันเกาะติดกันได้ดีกว่า อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการแตกหักที่สามารถเกิดขึ้นอีกได้ หากมีการแตกหักที่ใกล้เส้นประสาทฟัน คุณหมอจะแนะนำให้รักษารากฟันก่อนถึงจะครอบฟันได้ ในกรณีที่ฟันเกิดการแตกหักจนไม่อาจสามารถรักษาไว้ได้ อาจต้องมีการถอนออกแล้วใช้วิธีการครอบฟันทั้งซี่แทน ฟันที่มีการแตกหักและไม่ได้รับการรักษา เมื่อเวลาผ่านไปอาจเกิดแรงกระแทกบริเวณฟันที่แตกหักมากเกินไป จนทำให้ฟันซี่นั้นมีความผิดปกติมากขึ้นและแตกหักทั้งซี่ในที่สุด


ขั้นตอนในการรักษาด้วยการครอบฟัน

ในการครอบฟันมีขั้นตอนในการรักษาหลายขั้นตอน สำหรับคนที่เคยทำมาแล้วจะทราบดี  โดยอาจจะต้องทำการรักษาถึง 2 ครั้ง โดยการนำแบบพิมพ์ฟันจำลองไปยังห้องแลปเพื่อทำฟันที่จะนำมาครอบฟัน เพื่อให้มีขนาดเหมาะสมและพอดี

ในวันที่ทันตแพทย์นัดพบครั้งแรก คุณหมอจะทำการตรวจฟันและฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอก่อนทำสะพานฟันให้ หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องกรอฟัน ก็เพื่อเป็นฐานให้แก่ฟันที่จะนำมาครอบฟัน หากฟันที่เป็นฐานของคุณมีการอุดฟันไว้ ส่วนที่ถูกอุดฟันจะถูกดึงออกมา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการครอบฟันลงไปแทนที่

ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลองจากนั้นจะส่งแบบจำลองไปยังห้องแลปเพื่อทำฟัน ที่จะนำมาครอบฟัน

จากนั้นทันตแพทย์จะทำการติดฟันชั่วคราวให้สำหรับใช้งานชั่วคราว ระหว่างรอการผลิตฟันที่นำมาครอบฟันแบบถาวรต่อไป ในขณะติดฟันที่นำมาครอบฟันแบบชั่วคราว คุณควรดูแลทำความสะอาดภายในช่องปากเป็นอย่างดี หากฟันที่นำมาครอบฟันแบบชั่วคราวเกิดหลวมหรือหลุด ให้พยายามใส่ฟันที่นำมาครอบนี้ไว้ตำแหน่งเดิม หากไม่สามารถใส่กลับลงในตำแหน่งเดิมได้ ให้รีบมาพบทันตแพทย์พร้อมนำฟันที่ครอบชั่วคราวชิ้นนั้นมาด้วย

ในการนัดพบทันตแพทย์ครั้งที่สอง คุณหมอจะทำการรื้อฟันที่นำมาครอบฟันแบบชั่วคราวออก จากนั้นจะทำการติดยึดฟันที่นำมาครอบฟันแบบถาวรบนฟัน แล้วจึงทำการตรวจเช็คพร้อมปรับแต่งฟันให้มีเหมาะเหมาะสม

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก คุณอาจมีอาการเสียวฟันบริเวณฟันที่นำมาครอบฟัน  ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายได้เองในเวลาไม่นานนัก แต่หากมีอาการเสียวฟันมากหรือมีอาการระคายเคืองบริเวณฟันที่นำมาครอบฟัน ให้คุณนัดพบทันตแพทย์ เพื่อปรับแต่งแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป


ระยะเวลาการใช้งานของครอบฟัน

อายุการใช้งานของครอบฟัน โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ประมาณ 5-8 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลและรักษาสุขภาพในช่องปากของคนไข้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละบุคคล  เช่น บางคนชอบกัดฟัน เคี้ยวก้อนน้ำแข็ง กัดเล็บนิ้ว พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้อายุการใช้งานในการครอบฟันลดลง  การทำความสะอาดฟันด้วยไหมขัดฟันเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดคราบหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุและโรคเหงือก

เมื่อคุณเข้ารับการครอบฟันไม่ว่ากรณีใดก็ตาม การดูแลตนเองย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะยืดอายุของครอบฟันให้อยู่กับคุณไปนาน ๆ  ด้วยการหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดการกระทบต่อครอบฟัน นอกจากนี้การไปพบทันตแพทย์ตามปกติย่อมเป็นผลดีและทำให้คุณมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรงตลอดไป  สุขภาพในช่องปากมีผลต่อจิตใจและร่างกาย หากสุขภาพปากและฟันแข็งแรงจิตใจและร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย ดูแลฟันอย่างดีในวันนี้แล้วคุณจะมีรอยยิ้มสวยตลอดไป


คลินิกทันตกรรมอุดมสุข สกายเทรน

: 3983-3985 ซอยสุขุมวิท 103 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข)
: 02-0013500
: 088-3293456
: www.udomsukskytraindental.com
: info@udomsukskytraindental.com
: fb.com/udomsukskytrain
Line : @Udomsukskydental

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82