ทำไมต้องเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟัน? เชื่อว่าหลายคนอาจจะเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในราคาระดับหนึ่ง ทำให้ผู้ที่ต้องการจัดฟันนั้นไม่เข้าใจ และคิดว่าการจัดฟันกับทันตแพทย์จะสามารถทำได้ทันที ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ที่คุณเห็นมีการเอาลวดจัดฟันแฟชั่น แค่มาเกี่ยวๆ ในปากนั้นก็เสร็จ สวยเวอร์ ก็จริง แต่อย่าลืมว่ามันแฝงไปด้วยอันตรายล้วนๆ เพราะมันก็คือลวดธรรมดาที่ไม่ได้ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับจัดฟันโดยเฉพาะ แค่โดนน้ำลายบ่อยๆ ก็อาจทำให้เส้นลวดเป็นสนิม แถมยังอาจโดนลวดเกี่ยวปาก เกี่ยวร่องฟันเป็นแผลเหวอะหวะทำให้ปากอักเสบเข้าไปอีก ซึ่งการจัดฟันจริงๆ แล้วมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ผู้ที่ต้องการจัดฟันจะต้องใจเย็นๆ เพื่อให้เกิดผลประสิทธิภาพมากที่สุด
การเอ็กซเรย์ก่อนจัดฟัน
การเอ็กซเรย์ก่อนจัดฟัน เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการวางแผนการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพิจารณาลักษณะฟัน มุมฟัน ริมฝีปาก ขากรรไกร จมูก กะโหลกศีรษะและความผิดปกติอื่นๆ เพื่อให้แผนการรักษาเหมาะสม รวมถึงภาพรังสีด้านข้าง ที่เป็นภาพรังสีสำคัญซึ่งจะเป็นตัวบอกความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกร และความยื่นของฟัน โดยจะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาว่าควรจะถอนหรือไม่ถอนฟันเพื่อจัดฟัน ร่วมกับการตรวจช่องปาก ซึ่งทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันจะเป็นคนคิดวิเคราะห์ ถึงความเหมาะสมในแต่ละคนตั้งแต่การถอนฟันก่อนจัดฟัน เพื่อให้ได้รูปหน้าที่ออกมาสวยงาม การเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟัน จึงจะเป็นตัวบ่งบอกและตัดสินได้ว่าควรจะวางแผนในการจัดฟันไปทางทิศใด หากพินิจวิเคราะห์แล้วผลออกมาฟันงุ้ม และเหงือกโปนเพราะการถอนฟัน ก็จะไม่มีการถอน ซึ่งจะต้องวางแผนการรักษาเพื่อให้ได้ฟันเรียงสวยและมีการบดเคี้ยวอาหารอย่างสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งลักษณะฟันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ความสำคัญของการเอ็กซเรย์ฟันและการพิมพ์ฟัน
การเอ็กซเรย์เป็นเครื่องมือทางทันตกรรมที่มีความสำคัญมากโดยจะต้องปฏิบัติก่อนการจัดฟันเสมอ เพราะฟันของแต่ละคนมีหลายมุมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งผลการเอ็กซเรย์จะทำให้คุณหมอทราบลักษณะของฟัน และ รากฟัน รวมถึงกระดูกที่อยู่รอบๆ ฟัน เพื่อที่จะได้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการจัดฟันได้อย่างถูกต้อง ส่วนการพิมพ์ฟันคือขั้นตอนที่ใช้ตรวจสอบว่าฟันมีสภาพเป็นเช่นไร เมื่อพิมพ์ฟันออกมาแล้วจะทำให้ทันตแพทย์สามารถดูลักษณะการเรียงตัวของฟันได้อย่างถูกต้องและชัดเจนมากขึ้นว่า ฟันห่างกันแค่ไหน ฟันแต่ละซี่มีรูปร่างอย่างไร และผิดปกติตรงไหนบ้าง ควรจัดฟันแบบไหน โดยเป็นการเน้นไปที่ความชัดเจนของลักษณะฟัน แล้วจึงทำการวิเคราะห์เพื่อนำไปทำการรักษาในขั้นต่อไป แต่การเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟันจะเน้นการวินิจฉัยสภาพโดยรวมของรากฟันและฟัน ที่อยู่ในมุมที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า และที่จะต้องทำการเอ็กซเรย์ฟันและทำพิมพ์ฟันควบคู่กันก็เพราะ การจัดฟันต้องมีการวางแผนทั้งเรื่องของรากฟัน เหงือก และตัวฟันอย่างละเอียด หากทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะขาดข้อมูลของอีกด้านไป ก่อนจัดฟันทันตแพทย์จึงต้องดำเนินการให้ครบทั้งสองอย่างงนั่นเอง
อันตรายหรือไม่ หากเด็กต้องถ่ายการเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟัน
มีผู้ปกครองหลายคนเกิดความสงสัยว่าเมื่อพาลูกไปทำฟันแล้วทันตแพทย์ขอทำการเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟัน หรือแค่อุดฟันทำไมต้องเอ็กซเรย์ฟัน และจะมีความปลอดภัยไหม การเอ็กซเรย์ฟันนั้นเนื่องจากว่าฟันของคนเรามีส่วนของตัวฟัน ซึ่งโผล่ฟันขึ้นมาในช่องปาก และมีในส่วนของรากฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทำให้ทันตแพทย์ไม่สามารถมองเห็นได้จากการตรวจ หรือมองด้วยตาเพียงอย่างเดียว การฉายภาพรังสีหรือภาพเอกซเรย์จะเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่สามารถเห็นได้จากการตรวจในช่องปาก จึงเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการตรวจวินิจฉัยโรค หากไม่มีการเอ็กซเรย์ก็อาจไม่สามารถบอกถึงความผิดปกติอะไรบางอย่างได้ อย่างฟันผุที่ซอกฟันฟันเกิน หรือรอยโรคปลายราก รากฟันที่หักเนื่องจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้เห็นพัฒนาการของฟันและขากรรไกร บางทีอาจจะพบว่าเด็กบางคนมีฟันเกินในขากรรไกร หรือมีฟันที่ฝังอยู่ในขากรรไกรที่ส่วนใหญ่เป็นฟันคุด หรือฟันที่ขึ้นไม่ได้ ในเด็กที่มีปัญหาในเรื่องของรากฟันน้ำนมที่มีการละลายตัวผิดปกติ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้ฟันถาวรขึ้นผิดปกติไป
รังสีในทางทันตกรรมเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในทางการแพทย์ แต่มีความต่างกันตรงที่ใช้กระแสไฟต่ำกว่า ซึ่งการเอ็กซเรย์ ทันตกรรมจะเป็นปล่อยรังสีเข้าบนเนื้อเยื่อร่างกายด้วยพื้นที่น้อยกว่า รังสีจะผ่านเฉพาะเนื้อเยื่อของฟันและช่องปากเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือการพบว่ามีผลข้างเคียงใดๆ และในปัจจุบันเทคนิคการเอ็กซเรย์ฟันและกะโหลศีรษะก่อนการจัดฟันก้าวหน้ามาไกล เพราะมีการนำระบบดิจิตอลมาใช้ ทำให้ช่วยในการลดปริมาณรังสีในการถ่ายแต่ละครั้งอีกด้วย