ความสำคัญของการจัดฟัน

เพราะการจัดฟันคือความสำคัญกับการเรียงตัวของฟัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขฟันและขากรรไกรซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากฟันที่เรียงกันไม่เป็นระเบียบอาจจะส่งผลกระทบต่อรูปหน้าของแต่ละคนได้ รวมถึงประสิทธิภาพและวิธีการบดเคี้ยว และอีกทั้งฟันยื่นและฟันที่ขบกันไม่พอดีจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาดและอาจมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร และอาจทำให้เกิดการกดทับต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยว  ซึ่งการจัดฟันมีส่วนช่วยให้คุณมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ทำให้มั่นใจในบุคลิกภาพมากขึ้น และสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดของฟัน ระยะเวลาสำหรับการจัดฟัน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอายุ หรือการดูแลรักษาของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการรักษาด้วยการจัดฟัน ตั้งแต่  6 – 30  เดือน

ช่วงอายุที่ควรจัดฟัน

การจัดฟันมีหลายประเภท   บางคนจัดเพื่อความสวยงามแก้ไขรูปหน้า แต่บางคนตามกระแสแฟชั่น  แต่การจัดฟันต้องใช้ระยะเวลาที่นานหลายปี และมีค่าใช้ที่จ่ายค่อนข้างสูง  คุณพ่อและคุณแม่ควรดูแลฟันลูกให้ดีตั้งแต่แรกเริ่ม  หากดูแลฟันน้ำนมให้ดี ฟันแท้ก็จะสวยงามเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย  ยกเว้นในรายที่มีความผิดปกติจริง ๆ  ส่วนใหญ่มักจัดฟันในช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นครบ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 12-15  ปี  แต่การจัดฟันนั้นมีหลายช่วงอายุ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความผิดปกติและพัฒนาการของกะโหลกศีรษะรวมถึงใบหน้าร่วมด้วย เพราะหากมีความผิดปกติของความสัมพันธ์ของกระดูกในส่วนของขากรรไกรบน-ล่างก็ควรจะเริ่มการทำการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามต่อไป  ซึ่งลักษณะผิดปกติที่พบส่วนใหญ่คือ ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน  ซึ่งการแก้ไขความผิดปกติสามารถทำได้ไม่ยุ่งยากแต่ ก็ควรจะเริ่มการรักษาตั้งแต่เมื่อเริ่มพบเห็นความผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรกที่ตรวจพบ ซึ่งการจัดฟันในกลุ่มวัยรุ่นจะมีฟันแท้ขึ้นครบหมดแล้ว เรียกว่าเป็นระยะที่ฟันถาวรทุกซี่ เป็นระยะที่เหมาะสมในการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันผิดปกติ ส่วนวัยผู้ใหญ่ มักจะทำการจัดฟันเพื่อแก้ไขเฉพาะความผิดปกติของตำแหน่งฟัน

ลักษณะของฟันที่จำเป็นต้องได้รับการจัดฟันช่วย

  1. ฟันยื่น (Protrude) คือลักษณะของฟันหน้าที่มีการยื่นออกมามากกว่าปกติ
  2. ฟันซ้อนเก (Croeding) คือจะมีฟันซ้อนไม่เรียงตัวตามแนวของเหงือก และอาจจะซ้อนออกมาด้านข้างหรือด้านใน ส่งผลให้ทำความสะอาดได้ยากและอาจจะเกิดฟันผุตามมาได้
  3. ฟันกัดคล่อม (Crossbite) คือลักษณะของฟันหน้าที่มีการหุบเข้าไปด้านในแทนที่จะออกมาอยู่ด้านนอก
  4. ฟันกัดเบี้ยว (Midline Shift) คือลักษณะของฟันซี่ตรงกลางไม่ตรงกัน
  5. ฟันห่าง (Spacing) คือลักษณะของฟันที่ห่างและมีพื้นที่ว่างบริเวณเหงือกทำให้เวลาเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดและมักจะมีเศษอาหารไปติดอยู่ตามซอกฟันได้ง่าย
  6. ฟันสบลึก (Deepbite) คือฟันที่มีลักษณะฟันหน้าลงมาต่ำมาก เกือบจะปิดฟันล่าง
  7. ฟันสบเปิด (Openbite) คือลักษณะของฟันเวลาหุบปากจะมีช่อวงว่างเกิดขึ้น เพราะฟันสบกันไม่ดี

ลักษณะของฟันที่ควรได้รับการรักษาโดยการจัดฟัน ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จัดฟันจะต้องตรวจสอบสภาพของฟันและแนวทางการรักษาเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากลักษณะของฟันบางประเภทอาจจะได้รับการจัดฟันร่วมกับการศัลยกรรมทางช่องปากหรือมีการใช้เครื่องมือพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วย